วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สมาชิกในกลุ่ม

สมาชิกในกลุ่ม
1.นายณัฐกร                ชื่นมุนีวงศ์            เลขที่ 22
2.นางสาวกันยารัตน์          กล้วยสุข             เลขที่ 29
3.นางสาวนภาพร            แสงทอง             เลขที่ 30
4.นายเสกสันต์               แสนกงชัย            เลขที่ 31
5.นางสาวณัฏฐ์กฤตา          กองแก้ววรศิษฐ์      เลขที่ 36
   6.นายธนวัฒน์                พวงบุญ              เลขที่ 2
   7.นายพนพพล                เรืองปริพัฒนกุล       เลขที่ 8
8.นายชัยโชค                คงชูดี                เลขที่ 16

9.นางสาวพรกิตติ์     เลิศวิจิตรอนันต์ เลขที่ 39

บทที่5

บทที่ 5
บทสรุป

สรุปผล
         
ในปัจจุบันสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงจากสมัยโบราณอย่างมาก อันเนื่องมาจากมีการพัฒนาวิทยาการด้านต่างๆรวมไปถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารหรือโทรศัพท์มือถือที่ขณะนี้ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับการดำรงชีวิตในสังคม ทั้งช่วยให้ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็วตามความต้องการ
ทั้งรูปลักษณ์ที่สวยงาม และฟังก์ชันที่ให้ความบันเทิงอีกมากมาย จึงทำให้กลายเป็นที่น่าสนใจของคนในสังคมหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตกอยู่ในวัตถุนิยม  ตามแฟชั่นและรักความสะดวกสบายแต่อย่างไรก็ตามโทรศัพท์มือถือก็มีทั้งประโยชน์และโทษ แม้ว่าโทรศัพท์มือถือจะช่วยให้สะดวกต่อการติดต่อสื่อสาร แต่หากใช้ไปในทางที่ผิด หรือใช้ผิดที่ผิดเวลา ผิดวัตถุประสงค์ ก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่างๆตามมาได้
          คณะผู้จัดทำจึงได้ศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา
2559 โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมเก็บข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลแบบสอบถามเป็นจำนวน 210 ชุด โดยแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้
          ตอนที่
1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา สมาร์โฟนส่วนตัว
          ตอนที่
2 เป็นข้อความที่เกี่ยวข้องกับการใช้สมาร์ทโฟนของผู้ตอบแบบสอบถาม 3 ด้าน 10 ข้อ   
 ผู้จัดทำใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าตามแบบของลิเคิร์ท เพื่อประเมินพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ
          ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาสังคมก้มหน้า ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา
2559 โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ สรุปผลได้ดังนี้
          1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านเพศ พบว่า นักเรียนที่ติดสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน
115 คน คิดเป็นร้อยละ 54.76 และเพศชาย จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 45.24
         
2.นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา2559 โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ มีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
         
3.พบว่าเด็กนักเรียนชั้นม.3 ติดแอพพลิเคชั่น Facebook,Line ร้อยละ 71.42 และติดเกม ร้อยละ 52.38 ซึ่งทำให้ได้ว่าเด็กติดแอพพลิเคชั่นมากกว่าติดเกม             
          ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า จากปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันจะมีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่แตกต่างกันได้แก่ ด้านระยะเวลา ด้านการใช้แอพพลิเคชั่น และด้านความรู้สึกความต้องการ
อภิปรายผล
          ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาสังคมก้มหน้า ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา2559 โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ มีประเด็นที่สามารถนำมาอภิปรายผลได้ซึ่งตรงตามสมมุติฐาน ดังนี้
          1.ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือส่วนมากเป็นผู้ที่ติดเกมส์ ซึ่งเป็นจริง เพราะเนื่องจากการสำรวจนั้นปรากฎว่าผู้ใช้ที่สำรวจส่วนมากนั้นติดเกมเพราะในเวลาที่เบื่อๆไม่มีอะไรทำก็จะนั่งเล่นเกมในโทรศัพท์ซึ่งส่วนใหญ่ติด
          2.กลุ่มตัวอย่างส่วนมากจำเป็นต้องพกโทรศัพท์ติดตัวตลอดเวลา ซึ่งเป็นจริง เพราะเนื่องจากต้องมีการติดต่อสื่อสารหาผู้ปกครอง เพื่อน ฯลฯ การสืบค้นต่างๆ เล่นเกม ฟังเพลง ดูหนัง เล่น
Line,Facebook
ซึ่งอาจจะจำเป็นในยุคนี้
          3.สายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จาก 210 คน มีคนใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 3 ชั่วโมง ประมาณ 150 คน ซึ่งเป็นจริง เพราะเนื่องจากในอินเตอร์เน็ตนั้นมีสื่อมากมาย มีทั้งเกมต่างๆ สื่อออนไลน์Line,Facebook,Youtube เป็นต้น ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน

ข้อเสนอแนะ

          ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาวิจัย ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง ปํญหาสังคมก้มหน้า ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใน
ปีการศึกษา2559 โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ ทำให้ทราบพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียน ทั้งระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์ แอพพลิเคชั่นที่ใช้ ความรู้สึกและความต้องการในการใช้โทรศัพท์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
          1.ควรแบ่งเวลาในการใช้โทรศัพท์ให้น้อยลง
          2.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
          3.มีส่วนรวมในกิจกรรมของสถาบัน ชุมชน และครอบครัว
          ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไปควนศึกษางานจากประชากรในสถาบันให้ครอบคลุมทุกด้าน
          1.เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับคนที่ติดโทรศัพท์มือถือได้มากยิ่งขึ้น
          2.ลดปัญหาสังคมก้มหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          3.พัฒนานักเรียนที่ติดโทรศัพท์ทำคุณประโยชน์ต่อสถาบัน สังคม และประเทศชาติ

บทที่4

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาสังคมก้มหน้า โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา2559 ที่ใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน ในโรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
          1. เพื่อสำรวจผู้หญิงและผู้ชายเพศไหนได้รับการทำแบบสอบถามมากกว่ากัน
          2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
         
3. เพื่อสำรวจว่าระหว่างติดเกมกับติดแอพพลิเคชั่นแชทเด็กส่วนใหญ่เล่นอะไรมากกว่ากัน
         
โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยเลือก 15 คนของแต่ละห้อง จาก 14 ห้อง รวมทั้งหมด 210 คน ได้นำคำตอบที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลและเสนอผลการวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้
         
4.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
         
4.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของวัยรุ่นในการใช้แอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน
         
4.3 สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน

4.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
         
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนและร้อยละข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านเพศ
เพศ                                                                              จำนวน           ร้อยละ
ชาย                                                                                  95                45.24
หญิง                                                                                 115              54.76
รวม                                                                                  210              100

          จากตารางที่
1 แสดงจำนวนร้อยละข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านเพศ พบว่า นักเรียนที่ติดสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน 115 คน คิดเป็นร้อยละ 54.76 และเพศชาย จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 45.24
         


ตารางที่ 2 แสดงจำนวนและร้อยละข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านโทรศํพท์
การมีสมาร์ทโฟน                                                      จำนวน           ร้อยละ
มี                                                                                     210              100
ไม่มี                                                                                  0                  0
รวม                                                                                  210              100

          จากตารางที่
2 แสดงจำนวนและร้อยละข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านโทรศํพท์ พบว่า นักเรียนทุกคนมีสมาร์ทโฟนใช้ในชีวิตประจำวัน

4.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของวัยรุ่นในการใช้แอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน
 
         ตารางที่ 3 แสดงจำนวนและร้อยละระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์ใน 1 วัน
ระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์
จำนวนและร้อยละของระดับความเห็นด้วย
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ฉันมักจะใช้line,facebook และอื่นๆมากกว่า 3 ชั่วโมง
150
(71.42)
50
(23.8)
10
(4.76)
-
-
ฉันใช้โทรศัพท์เซลฟี่อยู่บ่อยๆ
100
(47.61)
50
(23.8)
30
(14.28)
20
(9.52)
10
(4.76)
ฉันใช้มือถือในการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่างๆอยู่เป็นประจำ
100
(47.61)
30
(14.28)
50
(23.8)
20
(9.52)
10
(4.76)
ฉันใช้โทรศัพท์ในการดูหนัง ฟังเพลงอยู่บ่อยๆ
110
(52.38)

50
(23.8)
30
(14.28)
10
(4.76)
10
(4.76)




ตารางที่ 4 แสดงจำนวนและร้อยละพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน
พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน
จำนวนและร้อยละของระดับความเห็นด้วย
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ฉันมักจะใช้ Line,Facebook และอื่นๆมากกว่า 3 ชั่วโมง
150
(71.42)
50
(23.8)
10
(4.76)
-
-
ฉันใช้โทรศัพท์เซลฟี่อยู่บ่อยๆ
100
(47.61)
50
(23.8)
30
(14.28)
20
(9.52)
10
(4.76)
ฉันใช้มือถือในการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่างๆอยู่เป็นประจำ
100
(47.61)
30
(14.28)
50
(23.8)
20
(9.52)
10
(4.76)
ฉันใช้โทรศัพท์ในการดูหนัง ฟังเพลงอยู่บ่อยๆ
50
(23.8)
50
(23.8)
50
(23.8)
10
(4.76)
10
(4.76)
ฉันใช้โทรศัพท์เล่นเกมทุกวัน
110
(52.38)

50
(23.8)
30
(14.28)
10
(4.76)
10
(4.76)
ฉันติดตามข้อมูลข่าวสารจากโทศัพท์มากกว่าในคอมพิวเตอร์
100
(47.61)
50
(23.8)
50
(23.8)
10
(4.76)
-

          จากตารางที่ 4 พบว่าเด็กนักเรียนชั้นม.3 ติดแอพพลิเคชั่น
Facebook,Line ร้อยละ 71.42 และติดเกม ร้อยละ 52.38 ซึ่งทำให้ได้ว่าเด็กติดแอพพลิเคชั่นแชทมากกว่าติดเกม
         






ตารางที่ 5 แสดงจำนวนและร้อยละความรู้สึกและความต้องการในการใช้โทรศัพท์
ความรู้สึกและความต้องการในการใช้โทรศัพท์
จำนวนและร้อยละของระดับความเห็นด้วย
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ฉันจำเป็นต้องมีโทรศัพท์ตลอดเวลา
150
(71.42)
50
(23.8)
6
(2.85)
4
(1.90)
-
ฉันคิดว่าโทรศัพท์มีประโยชน์
190
(90.47)
20
(9.52)
-
-
-
ฉันจะรู้สึกสดใสร่าเริงเมื่อได้เล่นโทรศัพท์
100
(47.61)
30
(14.28)
50
(23.8)
20
(9.52)
10
(4.76)
ฉันจะรู้สึกหงุดหงิดเลาไม่ได้เล่นโทรศัพท์
50
(23.8)
50
(23.8)
50
(23.8)
10
(4.76)
10
(4.76)

4.3 สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน
         
ตารางที่ 6 สรุปผลการทดสอบสมมุติฐาน  
สมมติฐานการวิจัย                                     ร้อยละ  ผลทดสอบ                 สมมติฐาน
                                                                                               
สมมติฐานที่1
ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือส่วนมากเป็นผู้ทีติดเกม              52.38                         ยอมรับสมมติฐาน

สมมติฐานที่2
กลุ่มตัวอย่างส่วนมากจำเป็นต้องพกโทรศัพท์    71.42                         ยอมรับสมมติฐาน
ติดตัวตลอดเวลา                             

สมมติฐานที่3
สายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จาก 210 คน                  71.42                        ยอมรับสมมติฐาน
มีคนใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 3 ชั่วโมง
ประมาณ 150 คน