วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทที่5

บทที่ 5
บทสรุป

สรุปผล
         
ในปัจจุบันสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงจากสมัยโบราณอย่างมาก อันเนื่องมาจากมีการพัฒนาวิทยาการด้านต่างๆรวมไปถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารหรือโทรศัพท์มือถือที่ขณะนี้ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับการดำรงชีวิตในสังคม ทั้งช่วยให้ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็วตามความต้องการ
ทั้งรูปลักษณ์ที่สวยงาม และฟังก์ชันที่ให้ความบันเทิงอีกมากมาย จึงทำให้กลายเป็นที่น่าสนใจของคนในสังคมหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตกอยู่ในวัตถุนิยม  ตามแฟชั่นและรักความสะดวกสบายแต่อย่างไรก็ตามโทรศัพท์มือถือก็มีทั้งประโยชน์และโทษ แม้ว่าโทรศัพท์มือถือจะช่วยให้สะดวกต่อการติดต่อสื่อสาร แต่หากใช้ไปในทางที่ผิด หรือใช้ผิดที่ผิดเวลา ผิดวัตถุประสงค์ ก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่างๆตามมาได้
          คณะผู้จัดทำจึงได้ศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา
2559 โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมเก็บข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลแบบสอบถามเป็นจำนวน 210 ชุด โดยแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้
          ตอนที่
1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา สมาร์โฟนส่วนตัว
          ตอนที่
2 เป็นข้อความที่เกี่ยวข้องกับการใช้สมาร์ทโฟนของผู้ตอบแบบสอบถาม 3 ด้าน 10 ข้อ   
 ผู้จัดทำใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าตามแบบของลิเคิร์ท เพื่อประเมินพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ
          ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาสังคมก้มหน้า ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา
2559 โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ สรุปผลได้ดังนี้
          1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านเพศ พบว่า นักเรียนที่ติดสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน
115 คน คิดเป็นร้อยละ 54.76 และเพศชาย จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 45.24
         
2.นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา2559 โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ มีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
         
3.พบว่าเด็กนักเรียนชั้นม.3 ติดแอพพลิเคชั่น Facebook,Line ร้อยละ 71.42 และติดเกม ร้อยละ 52.38 ซึ่งทำให้ได้ว่าเด็กติดแอพพลิเคชั่นมากกว่าติดเกม             
          ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า จากปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันจะมีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่แตกต่างกันได้แก่ ด้านระยะเวลา ด้านการใช้แอพพลิเคชั่น และด้านความรู้สึกความต้องการ
อภิปรายผล
          ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาสังคมก้มหน้า ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา2559 โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ มีประเด็นที่สามารถนำมาอภิปรายผลได้ซึ่งตรงตามสมมุติฐาน ดังนี้
          1.ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือส่วนมากเป็นผู้ที่ติดเกมส์ ซึ่งเป็นจริง เพราะเนื่องจากการสำรวจนั้นปรากฎว่าผู้ใช้ที่สำรวจส่วนมากนั้นติดเกมเพราะในเวลาที่เบื่อๆไม่มีอะไรทำก็จะนั่งเล่นเกมในโทรศัพท์ซึ่งส่วนใหญ่ติด
          2.กลุ่มตัวอย่างส่วนมากจำเป็นต้องพกโทรศัพท์ติดตัวตลอดเวลา ซึ่งเป็นจริง เพราะเนื่องจากต้องมีการติดต่อสื่อสารหาผู้ปกครอง เพื่อน ฯลฯ การสืบค้นต่างๆ เล่นเกม ฟังเพลง ดูหนัง เล่น
Line,Facebook
ซึ่งอาจจะจำเป็นในยุคนี้
          3.สายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จาก 210 คน มีคนใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 3 ชั่วโมง ประมาณ 150 คน ซึ่งเป็นจริง เพราะเนื่องจากในอินเตอร์เน็ตนั้นมีสื่อมากมาย มีทั้งเกมต่างๆ สื่อออนไลน์Line,Facebook,Youtube เป็นต้น ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน

ข้อเสนอแนะ

          ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาวิจัย ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง ปํญหาสังคมก้มหน้า ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใน
ปีการศึกษา2559 โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ ทำให้ทราบพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียน ทั้งระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์ แอพพลิเคชั่นที่ใช้ ความรู้สึกและความต้องการในการใช้โทรศัพท์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
          1.ควรแบ่งเวลาในการใช้โทรศัพท์ให้น้อยลง
          2.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
          3.มีส่วนรวมในกิจกรรมของสถาบัน ชุมชน และครอบครัว
          ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไปควนศึกษางานจากประชากรในสถาบันให้ครอบคลุมทุกด้าน
          1.เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับคนที่ติดโทรศัพท์มือถือได้มากยิ่งขึ้น
          2.ลดปัญหาสังคมก้มหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          3.พัฒนานักเรียนที่ติดโทรศัพท์ทำคุณประโยชน์ต่อสถาบัน สังคม และประเทศชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น